วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลทั่วไป








ประเทศลาว

ชื่อทางการ     : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ตัวย่อ: สปป.ลาว) The LaoPeople’s   Democratic Republic
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ :  ลาวมีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ  : ไม่มีทางออกสู่ทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น ทิศเหนือติดกับจีน  ทิศตะวันตกติดกับไทย  ทิศใต้ติดกับกัมพูชา  ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับพม่า

เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
          ภาวะเศรษฐกิจของลาวมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่เปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อ พ.ศ.2529 ลาวมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยมีผืนป่าและพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่รวมทั้งมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว เหล็ก ถ่านหิน อัญมณี และน้ำมัน ไปจนถึงมีเหมืองแร่ทองคำ และยังมีแหล่งน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมาก

ภูมิอากาศ:     แบบเขตร้อน คล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
ประชากร :     มีจำนวนประชากรประมาณ ล้านคน ประกอบด้วย 68 ชนเผ่า ซึ่งแบ่งได้เป็น กลุ่มชนชาติ คือ ลาวลุ่ม ลาวเทิง และลาวสูงการเมืองการปกครอง
          มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยพรรคการเมืองเดียว คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมี ประธานประเทศ” (ประธานาธิบดี) เป็นประมุข


เมืองหลวง     : เวียงจันทร์ (Vientiane)




ดอกไม้ประจำชาติ      : ดอกจำปาลาว (Champa) หรือดอกลีลาวดี
ศาสนาประจำชาติ      : ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
วันชาติ                         : 2 ธันวาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน     : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ภาษาประจำชาติ        : ภาษาลาว
ภาษาราชการ             : ภาษาลาว

ประวัติ

                                  
                                             ข้อมูลและประวัติของประเทศลาว


                                                                  ประเทศลาว

ประวัติ
          *แต่เดิมลาวอยู่ใต้การปกครองอาณาจักรน่าน ต่อมาก็ตกอยู่ในการปกครองของสยามนานถึง 114 ปี จนเกิดวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 สยามต้องยกดินแดนลาวทั้งหมดให้เป็นของฝรั่งเศส
          *ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นรุกเข้ามาในลาว ขบวนการลาวอิสระจึงได้ประกาศเอกราช
          *เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ลาวจึงตกอยู่ในอำนาจฝรั่งเศสอีกครั้ง
          *ฝรั่งเศสแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ.2496 โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์
          *ต่อมาเมื่อเจ้าสว่างวัฒนาขึ้นครองราชย์ต่อ เจ้าสุภานุวงศ์ หนึ่งในขบวนการลาวอิสระประกาศตนเป็นพวกนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาวออกเคลื่อนไหวทางการเมือง
          *พ.ศ.2518 พรรคปฏิวัติประชาชนลาว ที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ ยึดอำนาจรัฐบาลของเจ้าสว่างวัฒนาได้สำเร็จ และประกาศสถาปนา “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518

ศาสนา





ศาสนาในประเทศลาว



โบสถ์ในเวียงจันทร์

      ศาสนาในประเทศลาวที่สำคัญคือศาสนาพุทธ ชาวลาวลุ่มเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนชนเผ่าต่างๆนับถือธรรมชาติตามความเชื่อของแต่ละชนเผ่า พบในกลุ่มผู้ที่พูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต และไท-กะได เช่น ชาวไทดำ ไทแดง เช่นเดียวกับกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มเกาหลี-ญี่ปุ่น ผู้ใหญ่ลีนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและโปรแตสแตนต์มีประมาณร้อยละ 2

ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในลาว มีวัดทั่วประเทศราว 5,000 วัด ชายลาวที่นับถือศาสนาพุทธจะบวชเป็นพระสงฆ์ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต มีพระสงฆ์ในประเทศราว 22,000 รูป และเป็นพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ราวๆ 9,000 รูป มีสตรีที่บวชเป็นชี พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในลาวเป็นมหานิกายหลัง พ.ศ. 2518 แต่ก็ยังมีที่เป็นธรรมยุติกนิกายอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในเวียงจันทน์
พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นพระเจดีย์แบบลาวจัดเป็นสถานที่ที่สำคัญทางพุทธศาสนาในลาว และมีงานฉลองในเดือนพฤศจิกายน วัดของศาสนาพุทธนิกายมหายานในลาวเป็นของชาวเวียดนาม 2 แห่ง ชาวจีน 2 แห่ง

ประวัติศาสตร์

คาดว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศลาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยผ่านมาทางมอญและได้แพร่หลายไปจนทั่วประเทศในราวพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ลาวทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนา ในอดีตพระสงฆ์ในลาวมีบทบาทด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่หมดบทบาทไปเมื่อฝรั่งเศสจัดการศึกษาแบบตะวันตกขึ้น จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามาในลาว มีการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมลาวโดยใช้พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง วัดมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช
ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ขบวนการปะเทดลาวพยายามนำพระสงฆ์มาอยู่ฝ่ายซ้าย ในขณะที่รัฐบาลราชอาณาจักรลาวก็พยายามควบคุมพระสงฆ์ หลังจากที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีการเปรียบเทียบคำสอนในพุทธศาสนากับลัทธิมาร์กซิสม์ พระสงฆ์บางส่วนถูกส่งไปค่ายสัมมนา พระสงฆ์บางส่วนลาสิกขาและหนีมาประเทศไทย การบวชพระและเณรลดลง วัดว่างเปล่ามากขึ้น
สถานการณ์ของพุทธศาสนาดีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2522 โดยนโยบายของรัฐบาลให้อิสระมากขึ้น จำนวนพระสงฆ์มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลัง พ.ศ. 2523 ทำให้การควบคุมทางการเมืองผ่อนคลาย การเฉลิมฉลองทางพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น รวมทั้งงานฉลองพระธาตุหลวงที่จัดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2529 หลังจากถูกห้ามไปนาน

ความเชื่อดั้งเดิม

         มีอิทธิพลต่อชาวลาวทุกกลุ่ม แม้แต่ชาวลาวลุ่มที่นับถือพุทธศาสนา แต่ก็นับถือผีควบคู่ไปด้วย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ มนุษย์จะมีขวัญประจำตัว เมื่อขวัญออกจากร่างกายจะต้องทำพิธิสู่ขวัญ ศาสนาของชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงหลายเผ่าเป็นการนับถือผี ทั้งในธรรมชาติและผีบรรพบุรุษ อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะเกี่ยวข้องกับการกระทำของผี

ศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในลาว นิกายที่พบได้แก่ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนต์ เช่น คริสตจักรสายประกาศข่าวประเสริฐลาว และคริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ เป็นต้น
มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกประมาณ 45,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม อยู่ในเขตเมืองหลักและบริเวณรอบ ๆ แม่น้ำโขง ทางภาคกลางและภาคใต้ ส่วนในภาคเหนือมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนน้อย ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์มีน้อยแต่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น คาดว่ามีประมาณ 100,000 คน คริสตจักรเพรสไบทีเรียน มักเป็นชนเผ่าที่พูดภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร โดยเฉพาะชาวขมุทางภาคเหนือและชาวบรูทางภาคกลาง และกำลังเพิ่มจำนวนในหมู่ชาวม้งและชาวเย้า ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์พบในเวียงจันทน์ ไชยบุรี หลวงพระบาง เชียงขวาง บอลิคำไซ สุวรรณเขต จำปาศักดิ์ และอัตตะปือ

ศาสนาอิสลาม
มีมุสลิมน้อยมากในลาวคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในเวียงจันทน์ซึ่งมีมัสยิดเป็นของตนเอง มีมุสลิมที่เป็นชาวจามบางส่วนอพยพหนีภัยในยุคเขมรแดงจากกัมพูชามาสู่ลาว

        ลัทธิบาไฮ
ลัทธิบาไฮเริ่มเข้าสู่ลาวเมื่อ พ.ศ. 2498 มีกลุ่มชนที่นับถือศาสนานี้ราว 8000 คน ในเวียงจันทน์ เมืองไกสอนพมวิหาร และปากเซ

เพลงประจำชาติลาว





พลงชาติลาว หรือเพงซาดลาว
“ซาดลาวตั้งแต่ใดมา ลาวทุกถ้วนหน้าเซิดซูสุดใจ ฮ่วมแฮงฮ่วม จิดฮ่วมใจ สามัคคีกันเป็นกำลังเดียว เด็ดเดี่ยวพ้อมกันก้าวหน้า บูซาซูเกียดของลาว ส่งเสิมใซ้สิดเป็นเจ้า ลาวทุกซนเผ่าสะเหมอพาบกัน บ่ให้พวกจักกะพัดและพวกขายซาดเข้ามาลบกวน ลาวทังมวนซูเอกะลาดอิดสะละพาบของซาดลาวไว้ ตัดสินใจสู้ซิงเอาไซ พาซาดก้าวไปสู่ความวัดทะนา”
ถอดความภาษาไทยได้ว่า “ชาติลาวตั้งแต่ใดมา ลาวทุกถ้วนหน้าเชิดชูสุดใจ ร่วมแรงร่วมจิตร่วมใจ สามัคคีกันเป็นกำลังเดียว เด็ดเดี่ยวพร้อมกันก้าวหน้า บูชาชูเกียรติของลาว ส่งเสริมใช้สิทธิ์เป็นเจ้า ลาวทุกชนเผ่าเสมอภาพกัน ไม่ให้พวกจักรพรรดิ (บรรดาชาติต่างๆ ที่ทำตัวเป็นพวกลัทธิจักรวรรดินิยม ความหมายโดยเจาะจงลงไปคือสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส) และพวกขายชาติเข้ามารบกวน ลาวทั้งมวลชูเอกราช อิสรภาพของชาติลาวไว้ ตัดสินใจสู้ชิงเอาชัย พาชาติลาวไปสู่ความวัฒนา”

พลงชาติลาว หรือเพงซาดลาว มี 3 ฉบับ

  • โดยฉบับแรกประพันธ์ทั้งส่วนคำร้องและทำนองเมื่อ พ.ศ. 2484 โดย ดร.ทองดี สุน ทอนวิจิด ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรลาวอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2490
  • ส่วนฉบับที่ 2 แต่งขึ้นเมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวล้มล้างระบบกษัตริย์ พ.ศ.2518 ประพันธ์โดย ท่านสีซะนะ สีสาน
  • และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2531 คือฉบับปัจจุบัน ใช้ทำนองของ ดร.ทองดี และคำร้องของท่านสีซะนะ

ย้อนไป พ.ศ.2484 เพลงชาติฉบับดร.ทองดี นำใช้ในช่วงซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองของลาวมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เริ่มจาก พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย และเมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศซึ่งแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)
พ.ศ.2503 รัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอน เพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้าน ขณะที่ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลในภาคเหนือและภาคตะวันออก และ พ.ศ.2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียดนามใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาวเป็นเส้นทางส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ ตามด้วยกองกำลังอเมริกันเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว ก่อนจะถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม การทำสงครามหลังฉากในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย
เพลงของ ดร.ทองดี เพลงชาติลาวขณะนั้น ถอดความภาษาไทยได้ดังนี้
“ชาติลาวตั้งแต่เดิมมา ขึ้นชื่อลือชาอยู่ในอาซี (เอเชียใน ภาษาฝรั่งเศส ลาวรับคำนี้มาใช้ตามฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมมาก่อน)
ชาวลาวผูกพันไมตรี ร่วมสามัคคีฮักห่อโฮมกัน (ชาวลาวมีจิตใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)
รักชาติรักประเทศเรา รักเจ้าปกเกศเกศา โฮมฮักร่วมศาสนา แต่โบราณมารักษาดินแดน บ่ให้ชาติใดมารวน ราวีรบกวนยาดแย่งชิงเอา ใครขืนเข้ามาลู่วุ่นวาย สู้จนตัวตายต้านทานศัตรู ช่วยเชิดชูเลือดเนื้อเชื้อเผ่า ฟื้นฟูกู้เอาบรรเทาทุกข์กัน”
โดยเพลงนี้ใช้สมัยราชอาณาจักรลาว ระหว่าง พ.ศ.2484-2518
ต่อมา เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ในปี 2518 เพลงชาติลาวเปลี่ยนเนื้อเพลงเป็นฉบับที่แต่งโดยท่านสีซะนะ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 2 ธันวาคม 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพลงชาติฉบับดังกล่าวใช้มาจนถึงปี 2531 รัฐบาลลาวจึงได้รับรองเพลงชาติ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงมาเป็นเนื้อร้องฉบับปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวประเทศลาว





10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยวประเทศลาว

                            สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ประเทศลาว หรือ สปป. ลาว เป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมด้วยผืนแผ่นดินและภูเขา แม้ว่าจะไม่มีอาณาเขตติดกับน้ำทะเลเลย แต่ประเทศลาวก็อุดมไปด้วยต้นไม้ ภูเขา ที่ยังคงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก ยุโรป เอเชีย รวมถึงไทยได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น กระปุกท่องเที่ยวจึงได้นำ 10 แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตในลาวที่ต้องหาโอกาสไปสัมผัสด้วยตาตัวเองสักครั้งมาแนะนำกัน ส่วนจะเป็นที่ไหนกันบ้าง และน่าตื่นตาตื่นใจขนาดไหนนั้น ไปชมกันเลยจ้า





1. เมืองหลวงพระบาง (Luang Prabang)
        เมืองหลวงพระบางอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว และถูกขนาบไปด้วยแม่น้ำคานและแม่น้ำโขง เมืองนี้จัดว่าเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัดวาอารามเก่าแก่ มีบ้านเรือนที่มีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียน บรรยากาศในเมืองเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จึงไม่น่าแปลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรกดโลก  ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก โดยสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น วัดใหม่สุวันนะพูมาราม พระธาตุจอมพูสี น้ำตกตาดกวางสี และวัดวิชุน ฯลฯ





2. แม่น้ำโขง (Mekong River)
                    แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความยาวถึง 4,350 กิโลเมตร ประเทศลาวเองก็มีพรมแดนติดแม่น้ำโขงด้วยเช่นกัน และใช้แม่น้ำโขงสำหรับสัญจรไปมาอีกด้วย ทัศนียภาพตลอดแนวริมฝั่งนั้นสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนลาว และความงดงามทางธรรมชาติ อากาศที่บริสุทธิ์ ทำให้ทริปล่องแม่น้ำโขงนั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยจุดเริ่มต้นเส้นทางเริ่มที่เมืองห้วยทรายและสิ้นสุดที่เมืองหลวงพระบาง หรือจะออกเดินทางจากหลวงพระบาง-ห้วยทรายก็ได้



10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว







3. วังเวียง (Vang Vieng)
                      วังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ในเมืองวังเวียง ริมแม่น้ำซอง อยู่ห่างจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ 150 กิโลเมตร ตัวเมืองถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ ด้วยลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามไปด้วยธรรมชาติ มีทัศนียภาพอันงดงามของทิวเขาที่วางสลับตัวกัน เหมาะจะไปสูดอากาศบริสุทธิ์ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวลาวในชนบท เช่น เผ่าลาวสูง, ลาวเทิง, ลาวม้ง และไทลื้อ ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจประกอบด้วย เดินทางไกลชมป่าไม้ ปีนเขา ชมถ้ำ และล่องห่วงยางเล่นบนแม่น้ำซอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีที่พัก ร้านอาหาร ร้านอินเทอร์เน็ต ตัวแทนบริษัทท่องเที่ยวเปิดให้บริการอย่างคึกคัก



                         10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว


4. สี่พันดอน (Si Phan Don )
                     สี่พันดอน แปลว่า สี่พันเกาะนั่นเอง เป็นหมู่เกาะที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาว ก่อนที่จะไหลเข้าเขตประเทศกัมพูชา ชาวบ้านแถบนี้ประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ และยังคงดำรงชีวิตแบบชาวชนบท มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นเขตที่ค่อนข้างสงบทีเดียว จุดท่องเที่ยวหลัก ๆ มีอยู่ 3 แห่ง คือ ดอนคง ดอนคอน และดอนเด็ด  สำหรับดอนคงเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนแบบชิล ๆ สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมความงามของธรรมชาติ สำหรับดอนคอนและดอนเด็ดเป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาค่อนข้างมาก จึงมีที่พักเปิดให้บริการกับผู้คนที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมธรรมชาติที่นี่ ที่สำคัญราคาที่พักไม่แพงเลย





      10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว

5.  ทุ่งไหหิน (Plain of jar)
                        ทุ่งไหหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเมืองเชียงขวาง (Xieng Khouang) เป็นที่ราบกว้างเต็มไปด้วยหินรูปทรงคล้ายไหหรือโอ่ง มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ไหพวกนี้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ยุคหิน และน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมฝังศพ เพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการฝั่งศพบริเวณรอบ ๆ นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ไหหินยังมีร่องรอยของหลุมระเบิดที่ทิ้งลงมาโดยสหรัฐอเมริกาอีก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดจากนักโบราณคดีว่าที่มาของไหหินนี้เป็นมาอย่างไรกันแน่ แต่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติไปเรียบร้อยแล้ว

      10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว


6. วัดเชียงทอง (Wat Xieng Thong)
           วัดเชียงทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง มีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา และได้รับการยกย่องจากนักโบราณคดีว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในลาว จนทำให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต่างพากันมาชื่นชมความงามนี้ด้วยสายตาของตัวเอง นอกจากจะมีรูปทรงที่สวยงามแล้ว ยังเป็นศาสนสถานที่ทรงคุณค่าทางจิตใจของชาวลาว ทั้งนี้ วัดเชียงทองถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1560 โดยพระโพธิสารเจ้า มีฐานะเป็นวัดหลวง จึงทำให้มีการดูแลปฏิสังขรณ์เป็นอย่างดี ภายในวัดเชียงทองประกอบไปด้วยพระอุโบสถ พระประธาน วิหารน้อย โรงเมี้ยนโกศ ซึ่งมีการประดับตกแต่งด้วยศิลปะแบบหลวงพระบางแท้ ๆ


    10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว

7. พระธาตุหลวง (Pha That Luang)
                     พระธาตุหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาพุทธตั้งอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ถูกสร้างขึ้นโดยบุรีจันอ้วยล้วย หรือพระเจ้าจันทบุรีศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก ตามตำนานเล่าว่า มีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูป เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย แล้วนำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนที่เป็นหน้าอก) มาไว้ที่เวียนจันทน์ เจ้านครในสมัยนั้นจึงสั่งให้มีการสร้างพระธาตุขึ้นมาเพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุไว้สำหรับกราบไหว้บูชา เริ่มแรกนั้นพระธาตุถูกสร้างด้วยหิน แต่ต่อมามีการสร้างเจดีย์ครอบองค์พระธาตุ และบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุมีเจดีย์รายล้อมหลายองค์ ที่เจดีย์ถูกแกะสลักเป็นลวดลายพญานาค พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรูปทรงของพระธาตุมีลักษณะคล้ายกับป้อมปราการ เพราะมีระเบียงล้อมรอบสูง สถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็นปูชนียสถานที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อคนลาวมากที่สุดก็ว่าได้ เสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งประเทศ



    10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว

8. ปราสาทหินวัดพู (Wat Phu)
                   ปราสาทหินวัดพูตั้งอยู่บนเนินเขาพู ในแขวงจำปาสัก (Champasak) เป็นซากปรักหักพังของวัดฮินดูโบราณ ที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 นอกจากนี้ วัดพูยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกเพราะเคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน ตรงทางเข้าวัดพูนั้นมีหินปูเรียงรายสำหรับเดินเข้าวัด มีเสาเรียงตั้งเรียงอยู่หลายต้นขนาบข้างทางเดิน มีเรือนใหญ่ 2 หลัง ซุ้มประตูที่พลังทลาย หินสลักเป็นรูปเศียรช้าง และรูปปั้นหินรูปต่าง ๆ เช่น โยคี จระเข้ และมีพระพุทธรูปตั้งวางสำหรับกราบไหว้บูชา บรรยากาศที่ปราสาทแห่งนี้ให้ความรู้สึกถึงความอลังการ ความขลัง ผสมผสานกับความลี้ลับ น่าพิศวง อาจด้วยความเก่าแก่ตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถูกใช้เป็นสถานที่ทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท




   10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว

9. ถ้ำปากอู (Pak Ou)
              ถ้ำปากอู หรือถ้ำติ่ง อยู่ในแขวงหลวงพระบาง (Laung Prabang) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวต้องนั่งเรือจากตัวเมืองในหลวงพระบางประมาณ 25 นาที เมื่อมาถึงบ้านปากอู ต้องนั่งเรือข้ามฝากมาฝั่งตรงข้ามจะพบถ้ำติ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำติ่งลุ่ม และถ้ำติ่งเทิ่ง เมื่อลงมาจากเรือจะพบทางเข้าถ้ำติ่งลุ่ม เป็นถ้ำที่มีโพรงไม่ลึก ภายในมีหินงอกหินย้อย และมีรูปปั้นพระพุทธรูปที่ทำจากไม้เต็มไปหมด เชื่อกันว่าในสมัยก่อนเคยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับสักการบูชาดวงวิญญาณ ภูตผี แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในลาวจึงกลายเป็นศาสนสถานทางพุทธไป และเมื่อเดินไปอีกทางหนึ่งจะพบถ้ำเทิ่ง เป็นถ้ำที่ลึกมาก ภายในมีพระพุทธรูปเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งลุ่ม


     10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต มนต์เสน่ห์เมืองลาว

10. เวียงไซ (Vieng Xai)
                  เวียงไซเป็นเมืองหนึ่งในแขวงหัวพัน (Hua Phan) แหล่งท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนแม่เหล็กของเมืองเวียงไซ คือ "ถ้ำผู้นำ" เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ปกคลุมตัวต้นไม้เขียวขจี ดูแล้วก็เหมือนถ้ำทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่ต้องทำให้ผู้คนตะลึง คือ ภายในถ้ำถูกขุดเจาะและสร้างเป็นที่อยู่อาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ห้องพัก ห้องรับแขก ห้องประชุม โรงเรียน โรงพยาบาล ห้องหลบภัย โรงภาพยนตร์ ห้องสำหรับเล่นกีฬา ฯลฯ ซึ่งสามารถรองรับผู้อาศัยได้ประมาณ 20,000 คน โดยถ้ำผู้นำสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่หลบภัยของแกนนำทหารคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามอินโดจีนเมื่อย้อนกลับไปสมัยนั้น สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดลงมาในลาวหลายลูกติดต่อกันเป็นเวลาถึง 9 ปี เพื่อขจัดพวกคอมมิวนิสต์ไปหมดสิ้นไป เหล่าแกนนำคอมมิวนิสต์จึงหาที่หลบภัย โดยการเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำ ทำให้มี "ถ้ำผู้นำ" ลักษณะนี้อยู่ถึง 12 แห่ง ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันในเมืองเวียงไซ แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวชมเพียง 6 ถ้ำเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการแสดงนิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ในครั้งนั้นในแง่มุมของความรักชาติ การเสียสละเพื่อชาติอีกด้วย







อาหารประจำชาติลาว





ซุปไก่
                           ซุปไก่  เป็นอาหารยอดนิยมของลาว มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่  กระเทียม  หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อน ๆ กับข้าวเหนียว



สลัดหลวงพระบาง
                         
                  สลัดหลวงพระบาง หน้าตาดูจะคล้ายกับสลัดผักน้ำ มีเพียงผักบางรายการที่เพิ่มเข้ามา และถั่วลิสงคั่ว  โรยตอนสุดท้าย  ลักษณะของผักน้ำ ลำต้นขนาดเล็กยาว แต่อวบเพราะเลี้ยงอยู่ในแม่น้ำ เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึง  ความกรอบของผัก พบเห็นได้ตามตลาดเช้า



ชุดประจำชาติ



ชุดประจำชาติ    :  ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่นและใส่เสื้อเเขนยาวทรกระบอก                                                
ผู้ชาย แต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโกงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย


การแต่งกายในประเทศลาว : ด้วยชุดประจำชาตินั้นจะเห็นว่าประเทศลาวค่อนข้างที่จะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของการแต่งกาย การร้องเล่น เทศกาลต่างๆ ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีโบราณ ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปรไปบ้างตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ถึงกระนั้นวัฒนธรรมก็ยังคงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาติแต่ละชาติ ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปเช่นไร รากฐานของความเป็นวัฒนธรรมนั้นก็ยังคงต้องอยู่ไปเรื่อย ตราบเท่าที่ยังคงมีการอนุรักษ์แม้ว่าในปัจจุบันการสวมเครื่องแต่งกายสมัยใหม่อาจจะให้ความสะดวกสบายมากกว่าแต่ ประเทศลาวก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีการนุ่งผ้าซิ่นและการนุ่งโจงกระเบนเอาไว้อยู่ ในประเทศไทยสำหรับหน่วยงานบางหน่วยงานอาจจะมีการรณรงค์ให้มีการสวมผ้าไทยในวันต่างๆ โดยอาจจะกำหนดสัก 1 วันในอาทิตย์ให้เป็นวันรณรงค์การสวมผ้าไทยเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรม












ผ้าซิ่น : หัวซิ่น เป็นส่วนบนสุดของซิ่น นิยมทำแบบไม่มีลวดลาย บางแห่งใช้ผ้าขาวเย็บเป็นหัวซิ่น และเหน็บพกไว้ ทำให้ไม่สามารมองเห็นได้จากภายนอก
              ตัวซิ่น เป็นส่วนหลักของซิ่น อาจมีการทอลวดลายบ้างเล็กน้อยเป็นลวดลายกลมกลืนกัน ไม่ใช่ลายเด่น มักเป็นสีเดียวกันตลอดตัวซิ่น
           ตีนซิ่น เป็นส่วนสุดของซิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีลวดลายพิเศษแตกต่างกันออกไป สำหรับตีนซิ่นโดยเฉพาะ มีลักษณะแคบบ้าง กว้างบ้าง อาทิเช่น ซิ่นตีนจก ขณะที่ซิ่นของชาวอีสาน จะใส่ตีนซิ่นค่อนข้างแคบ
สำหรับผ้าซิ่นนั้น สาวชาวลาวมักนิยมนุ่งซิ่นไปพร้อมกับสไบหรือเรียกว่าผ้าเบี่ยง โดยสไปหรือผ้าเบี่ยงนี้จะนิยมสวมใส่สีเดียวกับผ้าซิ่นเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศลาว ชื่อทางการ      :   สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ตัวย่อ: สปป.ลาว)  The LaoPeople’s   Democratic Republic ลักษณ...